วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความร้อนกับผลกระทบที่อาจอันตรายกับนักปั่นจักรยาน
อาการอันเกิดจากความร้อนที่แผดเผา ส่งผลต่ออุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น ประกอบกับการสูญเสียน้ำมากเกินไป ผลที่เกิดขึ้นนั้นอาจรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพของนักกีฬาแต่ละคน อาการที่เห็นได้ชัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

ตะคริว (Cramp) 
อาการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุของความไม่สมดุลย์ระหว่างน้ำกับเกลือแร่ต่าง ๆ เช่น โซเดียม โปรแตสเซียม และแคลเซียม ที่มีในเนื้อเยื่อต่ำลงปกติจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณช่วงขาและกล้ามเนื้อช่วงท้อง 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ ควรหยุดกิจกรรมนั้นชั่วคราว ย้ายสถานที่ไปอยู่ในที่ ๆ มีอากาศเย็นกว่า ยืดเหยียดและนวดกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริว แล้วตามด้วยการปะคบด้วยน้ำแข็ง สุดท้ายคือการทดแทนของเหลวในร่างกายที่สูญเสียไปด้วยการดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำหวานหรือน้ำเกลือแร่

ความเหนื่อยล้าจากความร้อน (Heat Exhaustion)
ถ้าระบบรักษาความเย็นของร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับความตึงเครียดอันเกิดจากความร้อนได้ ในไม่ช้าความตึงเครียดก็จะถูกสะสมให้รุนแรงขึ้นกลายเป็นอาการ "ลมแดด" (Heat Stroke) ได้ การเป็นลมแดดคืออาการแพ้ความร้อนที่จะแสดงให้เห็นในลักษณะของเหงื่อออกมาก ผิวหนังเย็นซีด ปวดหัว หน้ามืด อุณหภูมิในร่างกายสูง มีชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้ อยากจะอาเจียน อ่อนล้า ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มหรือไม่ก็ไม่สามารถปัสสาวะได้สะดวก บางครั้งอาจทำให้จะหมดความรู้สึกไปเลย ในบางครั้งอาจมีอาการเป็นตะคริวหรือไม่เป็นเกิดขึ้นก่อนอาการเหล่านี้ก็ได้ 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อันดับแรกต้องเคลื่อนย้ายนักกีฬาให้อยู่ในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกหรือพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ถอดหรือคลายเสื้อผ้าออก เอาฟองน้ำ ผ้าชุบน้ำ หรือเป็นการดีที่สุดถ้ามีเจลประคบเย็น ใช้ประคบให้ทั่วร่างกาย แล้วทดแทนของเหลวในร่างกายที่สูญเสียให้มากที่สุดด้วยการน้ำดื่มเปล่า น้ำเกลือแร่ น้ำหวานหรือน้ำผลไม้

ลมแดด (Heat Stroke)
คือ อุบัติเหตุทางการแทพย์ ซึ่งทำให้ระบบรักษาความเย็นของร่างกายหยุดทำงานโดยกระทันหัน ผลของมันอาจรุนแรงจนสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท และจะเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นถ้าไม่ได้รับการบำบัดและการดูแลอย่างถูกวิธีโดยผู้มีความรู้ทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว อาการเด่นชัด คือ มีอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่า 104 °F หรือสูงกว่า 40 °C มีอาการเหงื่อหยุดไหล ผิวหนังค่อนข้างอุ่น ชีพจรเต้นเร็วมาก หายใจถี่ ๆ ผลตามมาคืออาจทำให้นักกีฬาเกิดความสับสน หัวใจเต้นผิดปกติ หรืออาจหมดสติทันที
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อันดับแรกต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้อยู่ในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกหรือพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ถอดหรือคลายเสื้อผ้าออก เอาฟองน้ำ ผ้าชุบน้ำ ใช้ประคบให้ทั่วร่างกายอาจรวมการอาบเย็น ประคบด้วยน้ำแข็งบริเวณเส้นเลือดใหญ่ เช่น ที่ลำคอ และรักแร้ ตลอดจนการทดแทนของเหลวที่สูญเสียไปทางปาก หรืออาจต้องฉีดเกลือแร่เข้าสู่เส้นเลือดโดยตรงเพื่อช่วยให้เกิดอันตรายต่อนักกีฬาให้น้อยที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น